วิธีปลูกข้าวโพดฝักอ่อน การป้องกันโรคต่างๆ การเก็บเกี่ยวแนบไฟล์:
คำอธิบาย: ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดฝักอ่อน.jpg [ 40.95 KiB | เปิดดู 3025 ครั้ง ]
1. การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนปลอดภัยจากสารพิษศัตรูของข้าวโพดฝักอ่อนและการป้องกันกำจัด
1. โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลายสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ใบอ่อนจะมีทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน เกิดจากฐานใบถึงปลายใบ ทางดังกล่าวอาจจะยาวติดต่อกันไปหรือขาดเป็นช่วง บางครั้งพบลักษณะอาการเป็นปื้นสีขาวจากฐานใบไปยังปลายใบ ข้าวโพดที่เป็นโรคในระยะต้นกล้า ต้นที่เป็นโรคเมื่อโตแล้วอาจแห้งตายก่อนออกดอกออกฝัก ต้นที่สามารถออกดอกได้แต่จะไม่มีฝักหรือฝักไม่สมบูรณ์ มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย
การแพร่ระบาด โรคเริ่มระบาดต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม ไปจนสิ้นฤดูฝน อุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุชนิดนี้มาก เชื้อสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ หรือตกค้างอยู่ในเศษซากพืช เช่น ใบข้าวโพดที่เป็นโรค หรือเมล็ดข้าวโพดจากต้นที่เป็นโรค หรือที่อาศัยอยู่บนพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพงหรือแขม หรืออ้อยเลา หรือหญ้าคาหลวง
การป้องกันกำจัด- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากต้นที่ไม่เป็นโรค หรือหลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท (ความชื้นประมาณ 10%) มาทำพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อที่ติดมากับเมล็ดฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พันธุ์สุวรรณ 1 พันธุ์สุวรรณ 2 พันธุ์นครสวรรค์
- คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ใช้สารเมตราแลกซิล (35%SD) 7 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม โดยคลุกเมล็ดก่อนปลูก
2. แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัดมอดดินลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก 2.2x3.5 มิลลิเมตร สีเทาดำ ทำลายกัดกินใบตั้งแต่ต้นอ่อนเริ่มงอกถึงอายุ 10 วัน ทำให้ต้นอ่อนตาย หรือชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่รอดตายจะทำให้การเก็บเกี่ยวล่าช้า พบระบาดมากในช่วงต่อฤดูปลูกที่ 2 ซึ่งมักประสบปัญหาฝนแล้ง
การป้องกันกำจัด- ปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ หลีกเลี่ยงการปลูกในปลายฝน
- ทำความสะอาดและกำจัดวัชพืชรอบแปลงปลูกซึ่งจะเป็นพืชอาศัยของแมลง
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำ คลุกเมล็ดก่อนปลูกหรือพ่น ป้องกันกำจัดโดยใช้สารคาร์โบซัลแฟน (25%ST) อัตราการใช้ 20 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร ควรคลุกเมล็ดก่อนปลูก หรือสารคาร์โบซัลแฟน (20%EC) อัตราการใช้ 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเมื่อข้าวโพดอายุ 10-12 วัน เมื่อพบปริมาณแมลงยังสูงอยู่ ควรหยุดการใช้ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
หนอนกระทู้หอมลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวมีขนปกคลุมใต้ใบข้าวโพด หนอนจะทำความเสียหายรุนแรงเมื่ออยู่ในวันที่ 3 ขึ้นไป โดยกัดกินทุกส่วนของข้าวโพดฝักอ่อนในระยะกล้า หนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ในดิน
การป้องกันกำจัด- เก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนทำลาย
- แหล่งระบาดเป็นประจำ หากจำเป็นให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ป้องกันกำจัดโดยใช้สารนิวเคลียโพลีฮีโดรซิสไวรัส อัตราการใช้ 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน 1-2 ครั้ง เมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัว/ต้น หรือสารเบตาไซฟลูทริน (2.5%EC) อัตราการใช้ 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัว/ต้น 12 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน (ในแหล่งที่พบแตนเบียนโคทีเซีย ไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช) ควรหยุดการใช้ก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่ง หนอนเจาะทำลายส่วนยอด ช่อดอกตัวผู้ และลำต้น แต่ชอบเจาะเข้าทำลายภายในลำต้นมากกว่าส่วนอื่น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มได้ง่าย เมื่อมีการระบาดมากจะเข้าทำลายฝัก พบระบาดในระยะข้าวโพดอายุ 20 วันถึงเก็บเกี่ยว
การป้องกันกำจัด หมั่นสำรวจกลุ่มไข่ หนอน และยอดที่ถูกทำลาย โดยเฉพาะช่วงข้าวโพดอายุ 20-45 วัน เพื่อทำการป้องกันก่อนที่จะเจาะเข้าไปภายในลำต้น ซึ่งจะทำให้ยากต่อการป้องกัน ป้องกันกำจัดโดยใช้สารไซเพอร์เมทริน (15%EC) อัตราการใช้ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ควรหยุดการใช้ก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน หรือสารไตรฟลูมูรอน (25%WP) 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ควรหยุดการใช้ก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน ใช้พ่นเมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัว/ต้น หรือพบกลุ่มไข่ 15 กลุ่ม/ข้าวโพด 100 ต้น หรือพบยอดข้าวโพดถูกทำลาย 40-50%